4 Skills Teaching

Listening Skill

Teaching Listening

        Listening is the language modality that is used most frequently. It has been estimated that adults spend almost half their communication time listening, and students may receive as much as 90% of their in-school information through listening to instructors and to one another. Often, however, language learners do not recognize the level of effort that goes into developing listening ability.

        Far from passively receiving and recording aural input, listeners actively involve themselves in the interpretation of what they hear, bringing their own background knowledge and linguistic knowledge to bear on the information contained in the aural text. Not all listening is the same; casual greetings, for example, require a different sort of listening capability than do academic lectures. Language learning requires intentional listening that employs strategies for identifying sounds and making meaning from them.

        Listening involves a sender (a person, radio, television), a message, and a receiver (the listener). Listeners often must process messages as they come, even if they are still processing what they have just heard, without backtracking or looking ahead. In addition, listeners must cope with the sender's choice of vocabulary, structure, and rate of delivery. The complexity of the listening process is magnified in second language contexts, where the receiver also has incomplete control of the language.

        Given the importance of listening in language learning and teaching, it is essential for language teachers to help their students become effective listeners. In the communicative approach to language teaching, this means modeling listening strategies and providing listening practice in authentic situations: those that learners are likely to encounter when they use the language outside the classroom. 


credit : http://www.nclrc.org/essentials/listening/liindex.htm


การสอนทักษะการฟัง
        การฟังเป็นทักษะที่สำคัญที่จะ นำไปสู่ทักษะการพูด การอ่าน การเขียน การฟังมี 2 ระดับ คือ ระดับต้น เน้นการฟังเสียงคำ วลี และสามารถอ่านได้ถูกต้อง และระดับที่สอง คือ การฟังประโยค เรื่องราว เพื่อความเข้าใจ ซึ่งทั้งสองระดับต้องให้ความสำคัญ ฝึกฝนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

เทคนิควิธีปฏิบัติ
          
กิจกรรมที่จะทำไปสู่การฟังให้เกิดทักษะ และได้ข้อมูลครบถ้วนตรงกับที่ต้องการจะสื่อนั้น ผู้ฟังต้องมีความรู้พื้นฐาน ภูมิหลังและความคาดหวังล่วงหน้าอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งครูผู้สอนได้จัดกิจกรรมดังต่อไปนี้
          1.
กิจกรรมก่อนการสอนฟัง
                 -
เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการสอน เช่นของจริง บัตรคำ บัตรภาพ เทปบันทึกเสียง
                 -
ทบทวนความรู้เดิมที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ใหม่
                 -
เสนอศัพท์ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะสอน โดยใช้อุปกรณ์ประกอบเพื่อให้เกิดความเข้าใจ
          2.
กิจกรรมระหว่างสอน
                -
เน้นการฟังให้มากที่สุด อย่าให้ผู้เรียนเขียนมาก หรืออ่านข้อความเพื่อตอบคำถามจากการฟัง เพราะนักเรียนจะไปสนใจในสิ่งอื่น ๆ ควรใช้กิจกรรม เช่นการเช็ครูปภาพตามข้อความที่ครูอ่าน การเรียงลำดับภาพโดยใช้หมายเลขกำกับ การเลือกรูปภาพให้ตรงกับคำบรรยาย การต่อเติมภาพให้สมบูรณ์ตามเรื่องที่ได้ฟัง การแสดงท่าทางประกอบกิจกรรมที่ได้ฟัง และอาจเพิ่มกิจกรรมที่นำไปสู่การพูดและเขียน เช่น Listen and repeat , Listen and find mistakes , Listen and compare เป็นต้น
           3.
กิจกรรมหลังการฟัง
                -
ให้นักเรียนตอบคำถาม อาจจะเป็นคำสั้น ๆ หรือแบบมีตัวเลือกตอบ
                -
แสดงบทบาทสมมุติ
                -
เขียนตามคำบอกโดยให้นักเรียนดำเนินการกันเองโดยแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม ดำเนินการอ่านเรื่องกันเอง / ตั้งคำถาม / ตอบ / เขียนเรื่อง / ตรวจสอบแก้ไขด้วยตนเอง


Teaching Listening Lesson Plan

doc. http://v3.gushare.com/file.php?file=13f26da1f9be86e19ca40be1e80d94a8
ppt. http://v3.gushare.com/file.php?file=9b47af5a3da24872387f4bb4242f150d

 
Speaking Skill

Teaching Speaking

        Many language learners regard speaking ability as the measure of knowing a language. These learners define fluency as the ability to converse with others, much more than the ability to read, write, or comprehend oral language. They regard speaking as the most important skill they can acquire, and they assess their progress in terms of their accomplishments in spoken communication.
Language learners need to recognize that speaking involves three areas of knowledge:
  • Mechanics (pronunciation, grammar, and vocabulary): Using the right words in the right order with the correct pronunciation
  • Functions (transaction and interaction): Knowing when clarity of message is essential (transaction/information exchange) and when precise understanding is not required (interaction/relationship building)
  • Social and cultural rules and norms (turn-taking, rate of speech, length of pauses between speakers, relative roles of participants): Understanding how to take into account who is speaking to whom, in what circumstances, about what, and for what reason.
        In the communicative model of language teaching, instructors help their students develop this body of knowledge by providing authentic practice that prepares students for real-life communication situations. They help their students develop the ability to produce grammatically correct, logically connected sentences that are appropriate to specific contexts, and to do so using acceptable (that is, comprehensible) pronunciation.

credit : http://www.nclrc.org/essentials/speaking/spindex.htm


การสอนทักษะการพูด
   การสอนทักษะการพูดภาษาอังกฤษในเบื้องต้น  มุ่งเน้นความถูกต้องของการใช้ภาษา ( Accuracy)  ในเรื่องของเสียง  คำศัพท์  ( Vocabulary)   ไวยากรณ์ ( Grammar)   กระสวนประโยค (Patterns)  ดัง นั้น  กิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนระดับต้นได้ฝึกทักษะการพูด  จึงเน้นกิจกรรมที่ผู้เรียนต้องฝึกปฏิบัติตามแบบ หรือ ตามโครงสร้างประโยคที่กำหนดให้พูดเป็นส่วนใหญ่  สำหรับผู้เรียนระดับสูง กิจกรรมฝึกทักษะการพูด จึงจะเน้นที่ความคล่องแคล่วของการใช้ภาษา ( Fluency) และ จะเป็นการพูดแบบอิสระมากขึ้น  เพราะจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการพูด คือ การสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วยการพูดอย่างถูกต้องและคล่องแคล่ว  ครูผู้สอนจึงควรมีความรู้และความสามารถอย่างไร  จึงจะสามารถจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการพูดให้แก่ผู้เรียนได้อย่างสอด คล้องกับระดับและศักยภาพของผู้เรียน
1.    
เทคนิควิธีปฎิบัติ
กิจกรรมการฝึกทักษะการพูด มี  3  รูปแบบ   คือ
1.1  
การฝึกพูดระดับกลไก (Mechanical  Drills)  เป็นการฝึกตามตัวแบบที่กำหนดให้ในหลายลักษณะ  เช่น
พูดเปลี่ยนคำศัพท์ในประโยค (Multiple Substitution Drill) 
พูดตั้งคำถามจากสถานการณ์ในประโยคบอกเล่า (Transformation  Drill)
พูดถามตอบตามรูปแบบของประโยคที่กำหนดให้ (Yes/No  Question-Answer Drill)
พูดสร้างประโยคต่อเติมจากประโยคที่กำหนดให้  (Sentence  Building)
พูดคำศัพท์  สำนวนในประโยคที่ถูกลบไปทีละส่วน  (Rub out and Remember)
พูดเรียงประโยคจากบทสนทนา (Ordering  dialogues)
พูดทายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในบทสนทนา (Predicting  dialogue)
พูดต่อเติมส่วนที่หายไปจากประโยค  ( Completing Sentences )
พูดให้เพื่อนเขียนตามคำบอก  (Split  Dictation)
ฯลฯ
1.2   
การฝึกพูดอย่างมีความหมาย ( Meaningful  Drills)  เป็นการฝึกตามตัวแบบที่เน้นความหมายมากขึ้น มีหลายลักษณะ  เช่น  
                    
พูดสร้างประโยคเปรียบเทียบโดยใช้รูปภาพ
                    
พูดสร้างประโยคจากภาพที่กำหนดให้
                    
พูดเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ ในห้องเรียน
                    
ฯลฯ
1.3  
การฝึกพูดเพื่อการสื่อสาร  (Communicative  Drills)  เป็นการฝึกเพื่อมุ่งเน้นการสื่อสาร  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสร้างคำตอบตามจินตนาการ  เช่น
พูดประโยคตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง  ( Situation)
พูดตามสถานการณ์ที่กำหนดให้  ( Imaginary  Situation)
พูดบรรยายภาพหรือสถานการณ์แล้วให้เพื่อนวาดภาพตามที่พูด  ( Describe  and Draw)

 
 Teaching Speaking Lesson Plan

doc. http://v3.gushare.com/file.php?file=878f924919afeda5054d1f1ef222e34c
ppt. http://v3.gushare.com/file.php?file=77155a581952011bbe9d34aa8645452c


Reading Skill

Teaching Reading

        Traditionally, the purpose of learning to read in a language has been to have access to the literature written in that language. In language instruction, reading materials have traditionally been chosen from literary texts that represent "higher" forms of culture.
        This approach assumes that students learn to read a language by studying its vocabulary, grammar, and sentence structure, not by actually reading it. In this approach, lower level learners read only sentences and paragraphs generated by textbook writers and instructors. The reading of authentic materials is limited to the works of great authors and reserved for upper level students who have developed the language skills needed to read them.
        The communicative approach to language teaching has given instructors a different understanding of the role of reading in the language classroom and the types of texts that can be used in instruction. When the goal of instruction is communicative competence, everyday materials such as train schedules, newspaper articles, and travel and tourism Web sites become appropriate classroom materials, because reading them is one way communicative competence is developed. Instruction in reading and reading practice thus become essential parts of language teaching at every level.

Reading Purpose and Reading Comprehension

        Reading is an activity with a purpose. A person may read in order to gain information or verify existing knowledge, or in order to critique a writer's ideas or writing style. A person may also read for enjoyment, or to enhance knowledge of the language being read. The purpose(s) for reading guide the reader's selection of texts.
        The purpose for reading also determines the appropriate approach to reading comprehension. A person who needs to know whether she can afford to eat at a particular restaurant needs to comprehend the pricing information provided on the menu, but does not need to recognize the name of every appetizer listed. A person reading poetry for enjoyment needs to recognize the words the poet uses and the ways they are put together, but does not need to identify main idea and supporting details. However, a person using a scientific article to support an opinion needs to know the vocabulary that is used, understand the facts and cause-effect sequences that are presented, and recognize ideas that are presented as hypotheses and givens.
Reading research shows that good readers
  • Read extensively
  • Integrate information in the text with existing knowledge
  • Have a flexible reading style, depending on what they are reading
  • Are motivated
  • Rely on different skills interacting: perceptual processing, phonemic processing, recall
  • Read for a purpose; reading serves a function

Reading as a Process

        Reading is an interactive process that goes on between the reader and the text, resulting in comprehension. The text presents letters, words, sentences, and paragraphs that encode meaning. The reader uses knowledge, skills, and strategies to determine what that meaning is.
Reader knowledge, skills, and strategies include
  • Linguistic competence: the ability to recognize the elements of the writing system; knowledge of vocabulary; knowledge of how words are structured into sentences
  • Discourse competence: knowledge of discourse markers and how they connect parts of the text to one another
  • Sociolinguistic competence: knowledge about different types of texts and their usual structure and content
  • Strategic competence: the ability to use top-down strategies (see Strategies for Developing Reading Skills for descriptions), as well as knowledge of the language (a bottom-up strategy)
        The purpose(s) for reading and the type of text determine the specific knowledge, skills, and strategies that readers need to apply to achieve comprehension. Reading comprehension is thus much more than decoding. Reading comprehension results when the reader knows which skills and strategies are appropriate for the type of text, and understands how to apply them to accomplish the reading purpose.
  
credit : http://www.nclrc.org/essentials/reading/reindex.htm


การสอนทักษะอ่าน
การอ่านภาษาอังกฤษ  มี 2  ลักษณะ คือ  การอ่านออกเสียง (Reading aloud) และ การอ่านในใจ  (Silent Reading )  การอ่านออกเสียงเป็นการอ่านเพื่อฝึกความถูกต้อง (Accuracy)  และความคล่องแคล่ว ( Fluency)  ในการออกเสียง  ส่วนการอ่านในใจเป็นการอ่านเพื่อรับรู้และทำความเข้าใจในสิ่งที่อ่านซึ่งเป็นการอ่านอย่างมีจุดมุ่งหมาย เช่นเดียวกับการฟัง  ต่าง กันที่ การฟังใช้การรับรู้จากเสียงที่ได้ยิน ในขณะที่การอ่านจะใช้การรับรู้จากตัวอักษรที่ผ่านสายตา ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและ มีความสามารถเพิ่มพูนขึ้นได้  ด้วยเทคนิควิธีการโดยเฉพาะ  ครูผู้สอนจึงควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการอ่านให้แก่ผู้เรียนอย่างไรเพื่อให้การอ่านแต่ละลักษณะประสบผลสำเร็จ
1.   เทคนิควิธีปฏิบัติ
1.1 การอ่านออกเสียง   การฝึกให้ผู้เรียนอ่านออกเสียงได้อย่าง ถูกต้อง และคล่องแคล่ว ควรฝึกฝนไปตามลำดับ โดยใช้เทคนิควิธีการ ดังนี้
        (1)  Basic Steps of Teaching (BST)   มีเทคนิคขั้นตอนการฝึกต่อเนื่องกันไปดังนี้
- ครูอ่านข้อความทั้งหมด 1 ครั้ง / นักเรียนฟัง
             - ครูอ่านทีละประโยค / นักเรียนทั้งหมดอ่านตาม
             - ครูอ่านทีละประโยค / นักเรียนอ่านตามทีละคน ( อาจข้ามขั้นตอนนี้ได้ ถ้านักเรียนส่วนใหญ่อ่านได้ดีแล้ว)
             - นักเรียนอ่านคนละประโยค ให้ต่อเนื่องกันไปจนจบข้อความทั้งหมด
             - นักเรียนฝึกอ่านเอง
             - สุ่มนักเรียนอ่าน
(2)  Reading  for  Fluency ( Chain Reading)   คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนอ่านประโยคคนละประโยคอย่างต่อเนื่องกันไป เสมือนคนอ่านคนเดียวกัน  โดยครูสุ่มเรียกผู้เรียนจากหมายเลขลูกโซ่  เช่น ครูเรียก Chain-number One  นักเรียนที่มีหมายเลขลงท้ายด้วย 1,11,21,31,41, 51  จะเป็นผู้อ่านข้อความคนละประโยคต่อเนื่องกันไป หากสะดุดหรือติดขัดที่ผู้เรียนคนใด ถือว่าโซ่ขาด  ต้องเริ่มต้นที่คนแรกใหม่ หรือ เปลี่ยน Chain-number ใหม่
(3)  Reading and Look up คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนแต่ละคน อ่านข้อความโดยใช้วิธี อ่านแล้วจำประโยคแล้วเงยหน้าขึ้นพูดประโยคนั้นๆ อย่างรวดเร็ว คล้ายวิธีอ่านแบบนักข่าว
(4)  Speed Reading   คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนแต่ละคน อ่านข้อความโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ การอ่านแบบนี้ อาจไม่คำนึงถึงความถูกต้องทุกตัวอักษร แต่ต้องอ่านโดยไม่ข้ามคำ เป็นการฝึกธรรมชาติในการอ่านเพื่อความคล่องแคล่ว (Fluency) และเป็นการหลีกเลี่ยงการอ่านแบบสะกดทีละคำ
(5)  Reading for Accuracy   คือ การฝึกอ่านที่มุ่งเน้นความถูกต้องชัดเจนในการออกเสียง ทั้ง stress / intonation / cluster / final sounds ให้ตรงตามหลักเกณฑ์ของการออกเสียง (Pronunciation) โดยอาจนำเทคนิค Speed Reading   มาใช้ในการฝึก และเพิ่มความถูกต้องชัดเจนในการออกเสียงสิ่งที่ต้องการ จะเป็นผลให้ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านได้อย่างถูกต้อง (Accuracy) และ คล่องแคล่ว (Fluency) ควบคู่กันไป
1.2  การอ่านในใจ     ขั้นตอนการสอนทักษะการอ่าน มีลักษณะเช่นเดียวกับขั้นตอนการสอนทักษะการฟัง โดยแบ่งเป็น  3   กิจกรรม  คือ   กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading)  กิจกรรมระหว่างการอ่าน หรือ ขณะที่สอนอ่าน (While-Reading) กิจกรรมหลังการอ่าน (Post-Reading)   แต่ละกิจกรรมอาจใช้เทคนิค ดังนี้
1)  กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading)   การ ที่ผู้เรียนจะอ่านสารได้อย่างเข้าใจ ควรต้องมีข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับสารที่จะได้อ่าน โดยครูผู้สอนอาจใช้กิจกรรมนำให้ผู้เรียนได้มีข้อมูลบางส่วนเพื่อช่วยสร้าง ความเข้าใจในบริบท ก่อนเริ่มต้นอ่านสารที่กำหนดให้ โดยทั่วไป มี 2 ขั้นตอน คือ
- ขั้น Personalization เป็น ขั้นสนทนา โต้ตอบ ระหว่างครู กับผู้เรียน หรือ ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน เพื่อทบทวนความรู้เดิมและเตรียมรับความรู้ใหม่จากการอ่าน
- ขั้น Predicting เป็น ขั้นที่ให้ผู้เรียนคาดเดาเกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่าน โดยอาจใช้รูปภาพ แผนภูมิ หัวเรื่อง ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะได้อ่าน แล้วนำสนทนา หรือ อภิปราย หรือ หาคำตอบเกี่ยวกับภาพนั้น ๆ หรือ อาจฝึกกิจกรรมที่เกี่ยวกับคำศัพท์ เช่น ขีดเส้นใต้ หรือวงกลมล้อมรอบคำศัพท์ในสารที่อ่าน หรือ  อ่านคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะได้อ่าน เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบแนวทางว่าจะได้อ่านสารเกี่ยวกับเรื่องใด  เป็นการเตรียมตัวล่วงหน้าเกี่ยวกับข้อมูลประกอบการอ่าน และค้นหาคำตอบที่จะได้จากการอ่านสารนั้นๆ  หรือ ทบทวนคำศัพท์จากความรู้เดิมที่มีอยู่ ซึ่งจะปรากฏในสารที่จะได้อ่าน โดยอาจใช้วิธีบอกความหมาย  หรือทำแบบฝึกหัดเติมคำ ฯลฯ
2)  กิจกรรมระหว่างการอ่าน  หรือ กิจกรรมขณะที่สอนอ่าน ( While-Reading)  เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในขณะที่อ่านสารนั้น  กิจกรรมนี้มิใช่การทดสอบการอ่าน  แต่เป็นการ ฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ”  กิจกรรมระหว่างการอ่านนี้  ควรหลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติทักษะอื่นๆ  เช่น  การฟัง  หรือ  การเขียน  อาจจัดกิจกรรมให้พูดโต้ตอบได้บ้างเล็กน้อย  เนื่องจากจะเป็นการเบี่ยงเบนทักษะที่ต้องการฝึกไปสู่ทักษะอื่นโดยมิได้เจตนา   กิจกรรมที่จัดให้ในขณะฝึกอ่าน  ควรเป็นประเภทต่อไปนี้
- Matching   คือ อ่านแล้วจับคู่คำศัพท์ กับ คำจำกัดความ หรือ จับคู่ประโยค เนื้อเรื่องกับภาพ แผนภูมิ
- Ordering   คือ อ่านแล้วเรียงภาพ แผนภูมิ ตามเนื้อเรื่องที่อ่าน หรือ เรียงประโยค (Sentences) ตามลำดับเรื่อง หรือเรียงเนื้อหาแต่ละตอน (Paragraph) ตามลำดับของเนื้อเรื่อง
- Completing คือ อ่านแล้วเติมคำ สำนวน ประโยค   ข้อความ ลงในภาพ แผนภูมิ ตาราง ฯลฯ ตามเรื่องที่อ่าน

 
 Teaching Reading Lesson Plan
doc. http://v3.gushare.com/file.php?file=d4bf2f6af43ac41648f533f0c0be7646
ppt. http://v3.gushare.com/file.php?file=207e0ddd1f6e86344902f7d4cc9c3115

Writing Skill

Teaching Writng

         
        The teachers of speakers of English as a second language (ESL students) have a challenging but rewarding job. ESL students in a classroom may perform at different levels and come from countries with vastly different cultures. The teacher must not only find out how much the students know about writing in English but also learn about the differences in cultures within the classroom. The first milestone for students learning to write in English as a second language is that the message is clear and meaningful. Use of correct grammar and punctuation will develop, but the meaning can often be understood without proper grammar and spelling. Only after the students are able to write simple lists and sentences should they begin to learn to edit and revise their work to achieve acceptable grammar. The teacher who works with patience and respect for differences and effort will be rewarded with evidence of progress in her students' writing.

The Writing Process: Prewriting, Writing, Revising, and Proofreading

The four steps of the writing process are: prewriting, writing, revising, and proofreading.
  • PreWriting - Whatever type of writing a student is attempting, the prewriting stage can be the most important. This is when students gather their information, and begin to organize it into a cohesive unit. This process can include reading, taking notes, brainstorming, and categorizing information. Prewriting is the most creative step and most students develop a preferred way to organize their thoughts. Stream of consciousness writing, graphic organizers, outlines, or note cards are popular techniques. Many of these tools are already accommodated through Time4Learning’s Odyssey Writer program. Often this stage is best taught by a parent modeling the different methods, perhaps a different one each week until the student finds which one works best for him.
  • Writing -The actual writing stage is essentially just an extension of the prewriting process. The student transfers the information they have gathered and organized into a traditional format. This may take the shape of a simple paragraph, a one-page essay, or a multi-page report. Up until this stage, they may not be exactly certain which direction their ideas will go, but this stage allows them to settle on the course the paper will take. Teaching about writing can sometimes be as simple as evaluation good literature together, and exploring what makes the piece enjoyable or effective. It also involves helping a student choose topics for writing based on their personal interests. Modeling the writing process in front of your child also helps them see that even adults struggle for words and have to work at putting ideas together.
  • Revising , or editing is usually the least favorite stage of the writing process, especially for beginning writers. Critiquing one’s own writing can easily create tension and frustration. But as you support your young writers, remind them that even the most celebrated authors spend the majority of their time on this stage of the writing process. Revising can include adding, deleting, rearranging and substituting words, sentences, and even entire paragraphs to make their writing more accurately represent their ideas. It is often not a one-time event, but a continual process as the paper progresses. When teaching revision, be sure to allow your child time to voice aloud the problems they see in their writing. This may be very difficult for some children, especially sensitive ones, so allow them to start with something small, such as replacing some passive verbs in their paper with more active ones.
  • Proofreading - This is a chance for the writer to scan his or her paper for mistakes in grammar, punctuation, and spelling. Although it can be tempting for parents to perform this stage of the writing process for the child, it is important that they gain proofreading skills for themselves as this improves a student’s writing over time. And because children want their writing to be effective, this can actually be the most opportune to teach some of the standard rules of grammar and punctuation. When students learn the rules of mechanics during the writing process they are much more likely to remember to use them in the future. Odyssey Writer’s built in spelling checker and self-assessment rubric are wonderful tools to aid in strengthening a student’s revision and proof-reading skills.
 credit : http://www.time4learning.com/teaching-writing.shtml
 

การสอนทักษะเขียนภาษาอังกฤษ

        การเขียน คือ การสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วยข้อความเป็นลายลักษณ์อักษร มีจุดมุ่งหมายเพื่อถ่ายทอดความคิดของผู้ส่งสารคือผู้เขียนไปสู่ผู้รับสารคือ ผู้อ่าน กระบวนการสอนทักษะการเขียน ยังจำเป็นต้องเริ่มต้นจากการสร้างระบบในการเขียน จากความถูกต้องแบบควบคุมได้ (Controlled Writing) ไปสู่การเขียนแบบควบคุมน้อยลง (Less Controlled Writing) อันจะนำไปสู่การเขียนแบบอิสระ ( Free Writing) ได้ในที่สุด ครูผู้สอนควรมีความรู้และความสามารถในการจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการ เขียนให้แก่ผู้เรียนได้อย่างไร ผู้เรียนจึงจะมีทักษะการเขียนภาษาอังกฤษที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
เทคนิคการสอนทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ ( Writing Skill)

การเขียน คือ การสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วยข้อความเป็นลายลักษณ์อักษร มีจุดมุ่งหมายเพื่อถ่ายทอดความคิดของผู้ส่งสารคือผู้เขียนไปสู่ผู้รับสารคือ ผู้อ่าน มากกว่าการมุ่งเน้นในเรื่องของการใช้คำและหลักไวยากรณ์ หรือ อาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การเขียนเป็นการสื่อสารที่มุ่งเน้นความคล่องแคล่ว( Fluency) ในการสื่อความหมาย มากกว่าความถูกต้องของการใช้ภาษา ( Accuracy) อย่างไรก็ตาม กระบวนการสอนทักษะการเขียน ยังจำเป็นต้องเริ่มต้นจากการสร้างระบบในการเขียน จากความถูกต้องแบบควบคุมได้ (Controlled Writing) ไปสู่การเขียนแบบควบคุมน้อยลง (Less Controlled Writing) อันจะนำไปสู่การเขียนแบบอิสระ ( Free Writing) ได้ในที่สุด
การฝึก ทักษะการเขียนสำหรับผู้เรียนระดับต้น สิ่งที่ผู้สอนต้องคำนึงถึงให้มากที่สุด คือ ต้องให้ผู้เรียนมีข้อมูลเกี่ยวกับ คำศัพท์ ( Vocabulary) กระสวนไวยากรณ์ ( Grammar Pattern) และเนื้อหา ( Content) อย่างเพียงพอที่จะเป็นแนวทางให้ผู้เรียนสามารถคิดและเขียนได้ ซึ่งการสอนทักษะการเขียนในระดับนี้ อาจมิใช่การสอนเขียนเพื่อสื่อสารเต็มรูปแบบ แต่จะเป็นการฝึกทักษะการเขียนอย่างเป็นระบบที่ถูกต้อง อันเป็นรากฐานสำคัญในการเขียนเพื่อการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับ สูงได้ต่อไป ครูผู้สอนควรมีความรู้และความสามารถในการจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการ เขียนให้แก่ผู้เรียนได้อย่างไร ผู้เรียนจึงจะมีทักษะการเขียนภาษาอังกฤษที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

1.
เทคนิควิธีปฎิบัติ
การฝึกทักษะการเขียน มี 3 แนวทาง คือ
1.1
การเขียนแบบควบคุม (Controlled Writing) เป็นแบบฝึกการเขียนที่มุ่งเน้นในเรื่องความถูกต้องของรูปแบบ เช่น การเปลี่ยนรูปทางไวยากรณ์ คำศัพท์ในประโยค โดยครูจะเป็นผู้กำหนดส่วนที่เปลี่ยนแปลงให้ผู้เรียน ผู้เรียนจะถูกจำกัดในด้านความคิดอิสระ สร้างสรรค์ ข้อดีของการเขียนแบบควบคุมนี้ คือ การป้องกันมิให้ผู้เรียนเขียนผิดตั้งแต่เริ่มต้น กิจกรรมที่นำมาใช้ในการฝึกเขียน เช่น
Copying ,
เป็นการฝึกเขียนโดยการคัดลอกคำ ประโยค หรือ ข้อความที่กำหนดให้ ในขณะที่เขียนคัดลอก ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้การสะกดคำ การประกอบคำเข้าเป็นรูปประโยค และอาจเป็นการฝึกอ่านในใจไปพร้อมกัน
Gap Filing
เป็นการฝึกเขียนโดยเลือกคำที่กำหนดให้ มาเขียนเติมลงในช่องว่างของประโยค ผู้เรียนจะได้ฝึกการใช้คำชนิดต่างๆ (Part of Speech) ทั้งด้านความหมาย และด้านไวยากรณ์
Re-ordering Words,
เป็นการฝึกเขียนโดยเรียบเรียงคำที่กำหนดให้ เป็นประโยค ผู้เรียนได้ฝึกการใช้คำในประโยคอย่างถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และเรียนรู้ความหมายของประโยคไปพร้อมกัน
Changing forms of Certain words
เป็นการฝึกเขียนโดยเปลี่ยนแปลงคำที่กำหนดให้ในประโยค ให้เป็นรูปพจน์ หรือรูปกาล ต่างๆ หรือ รูปประโยคคำถาม ประโยคปฏิเสธ ฯลฯ ผู้เรียนได้ฝึกการเปลี่ยนรูปแบบของคำได้อย่างสอดคล้องกับชนิดและหน้าที่ของ คำในประโยค
Substitution Tables
เป็นการฝึกเขียนโดยเลือกคำที่กำหนดให้ในตาราง มาเขียนเป็นประโยคตามโครงสร้างที่กำหนด ผู้เรียนได้ฝึกการเลือกใช้คำที่หลากหลายในโครงสร้างประโยคเดียวกัน และได้ฝึกทำความเข้าใจในความหมายของคำ หรือประโยคด้วย
1.2
การเขียนแบบกึ่งควบคุม (Less – Controlled Writing) เป็นแบบฝึกเขียนที่มีการควบคุมน้อยลง และผู้เรียนมีอิสระในการเขียนมากขึ้น การฝึกการเขียนในลักษณะนี้ ครูจะกำหนดเค้าโครงหรือรูปแบบ แล้วให้ผู้เรียนเขียนต่อเติมส่วนที่ขาดหายไปให้สมบูรณ์ วิธีการนี้ ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะความสามารถในการเขียนได้มากขึ้น อันจะนำไปสู่การเขียนอย่างอิสระได้ในโอกาสต่อไป กิจกรรมฝึกการเขียนแบบกึ่งอิสระ เช่น
Sentence Combining
เป็นการฝึกเขียนโดยเชื่อมประโยค 2 ประโยคเข้าด้วยกัน ด้วยคำขยาย หรือ คำเชื่อมประโยค ผู้เรียนได้ฝึกการเขียนเรียบเรียงประโยคโดยใช้คำขยาย หรือคำเชื่อมประโยค ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
Describing People
เป็นการฝึกการเขียนบรรยาย คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ โดยใช้คำคุณศัพท์แสดงคุณลักษณะของสิ่งที่กำหนดให้ ผู้เรียนได้ฝึกการใช้คำคุณศัพท์ขยายคำนามได้อย่างสอดคล้อง และตรงตามตำแหน่งที่ควรจะเป็น
Questions and Answers Composition
เป็นการฝึกการเขียนเรื่องราว ภายหลังจากการฝึกถามตอบปากเปล่าแล้ว โดยอาจให้จับคู่แล้วสลับกันถามตอบปากเปล่าเกี่ยวกับเรื่องราวที่กำหนดให้ แต่ละคนจดบันทึกคำตอบของตนเองไว้ หลังจากนั้น จึงให้เขียนเรียบเรียงเป็นเรื่องราว 1 ย่อหน้า ผู้เรียนได้ฝึกการเขียนเรื่องราวต่อเนื่องกัน โดยมีคำถามเป็นสื่อนำความคิด หรือเป็นสื่อในการค้นหาคำตอบ ผู้เรียนจะได้มีข้อมูลเป็นรายข้อที่สามารถนำมาเรียบเรียงต่อเนื่องกันไปได้ อย่างน้อย 1 เรื่อง
Parallel Writing
เป็นการฝึกการเขียนเรื่องราวเทียบเคียงกับเรื่องที่อ่าน โดยเขียนจากข้อมูล หรือ ประเด็นสำคัญที่กำหนดให้ ซึ่งมีลักษณะเทียบเคียงกับความหมายและโครงสร้างประโยค ของเรื่องที่อ่าน เมื่อผู้เรียนได้อ่านเรื่องและศึกษารูปแบบการเขียนเรียบเรียงเรื่องนั้นแล้ว ผู้เรียนสามารถนำข้อมูลหรือประเด็นที่กำหนดให้มาเขียนเลียนแบบ หรือ เทียบเคียงกับเรื่องที่อ่านได้
Dictation
เป็นการฝึกเขียนตามคำบอก ซึ่งเป็นกิจกรรมที่วัดความรู้ ความสามารถของผู้เรียนในหลายๆด้าน เช่น การสะกดคำ ความเข้าใจด้านโครงสร้างประโยค ไวยากรณ์ รวมถึงความหมายของคำ ประโยค หรือ ข้อความที่เขียน
1.3
การเขียนแบบอิสระ ( Free Writing) เป็นแบบฝึกเขียนที่ไม่มีการควบคุมแต่อย่างใด ผู้เรียนมีอิสระเสรีในการเขียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิด จินตนาการอย่างกว้างขวาง การเขียนในลักษณะนี้ ครูจะกำหนดเพียงหัวข้อเรื่อง หรือ สถานการณ์ แล้วให้ผู้เรียนเขียนเรื่องราวตามความคิดของตนเอง วิธีการนี้ ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะความสามารถในการเขียนได้เต็มที่ ข้อจำกัดของการเขียนลักษณะนี้ คือ ผู้เรียนมีข้อมูลที่เป็นคลังคำ โครงสร้างประโยค กระสวนไวยากรณ์เป็นองค์ความรู้อยู่ค่อนข้างน้อย ส่งผลให้การเขียนอย่างอิสระนี้ ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร 

 
Teaching Writing Skill lesson Plan

doc. http://v3.gushare.com/file.php?file=c1d759b4bfbe17e1f8e42db1bb65776b
ppt. http://v3.gushare.com/file.php?file=25673213b9e41d2b6fa3e789db2c7f19